เปิดร้านอาหาร เริ่มต้นส่งภาษีอย่างไร

Aug 18, 2020
เรื่องบัญชี ภาษี เหมือนเป็นยาขมของบรรดาผู้ประกอบการ เพราะมีไม่น้อยที่คิดว่ามันคือเรื่องยากในการจัดการ แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่เลี่ยงไม่ได้ และหนึ่งในคำถามยอดฮิตของคนทำร้านอาหาร ก็คือเรื่องของบัญชีภาษีนี่แหละ คนทำร้านอาหารจะต้องเสียภาษีอะไรบ้าง เสียอย่างไร เป็นเรื่องที่ซีเรียสจนหลายคนขอข้ามไปก่อน สุดท้ายโดนค่าปรับภาษีย้อนหลังหนักกว่ายอดภาษีที่ต้องจ่ายแต่แรกเสียอีก ดังนั้นเรื่องนี้สำคัญและถ้าใส่ใจสักหน่อยก็จะพบว่าไม่ใช่เรื่องยากอะไร ถ้าอยากรู้ว่าทำร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง บทความนี้สรุปมาให้ครบ 
ภาษีอะไรบ้างที่ผู้ประกอบการต้องเสีย
          มาเริ่มกันที่ประเภทของแต่ละภาษีที่ต้องเสีย เอาตั้งแต่เริ่มต้นทำร้านกันเลย ว่าการทำร้านอาหารตั้งเริ่มแรกคิดจนกระทั้งเปิดให้บริการ มีภาษีกี่รายการที่เกี่ยวข้อง ภาษีมูลค่าเพิ่มเรื่องที่คุ้นเคยกันดี
          ภาษีตัวแรกคุ้นเคยกันดี เพราะทุกคนต้องเสียกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการแบบบุคคลธรรมดา หรือแบบนิติบุคคล แต่เริ่มต้นจ่ายเงินออกไปไม่ว่าจะเป็นรายการอะไร เช่น ซื้อของทำร้าน ซื้อของเข้าร้าน ผู้ประกอบการต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายโดยตรง ยกเว้นสินค้าเกษตร และวัตถุดิบในการทำอาหาร ไม่เสียค่าภาษี ซึ่งผู้ประกอบการก็ต้องขอใบเสร็จเก็บไว้ เพื่อนำมาใช้คำนวณภาษีในแต่ละเดือน และทำรายงานภาษีซื้อ ตัวนี้ไม่มีอะไรมากเพราะทุกคนรู้จักกันอยู่แล้ว แต่ที่ขอฝากไว้ก็คือ การซื้อใด ๆ สำคัญเลย อย่าลืมขอใบเสร็จและเก็บใบเสร็จมาลงบัญชี ภาษีศุลกากรบางที่อาจลืมคิดไป           ทำร้านอาหารต้องเสียภาษีศุลกากรด้วยรึ? อย่าเพิ่งงง สำหรับกรณีที่เราต้องสั่งนำเข้าวัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบที่อยู่ในรายการบัญชีภาษีนำเข้า เราก็ต้องจ่าย ส่วนจะจ่ายอัตราเท่าไหร่ ต้องตรวจสอบกับทางศุลกากรเรื่องพิกัดภาษีเพราะแต่ละประเภทสินค้าก็มีอัตราต่างกันไป ภาษี หัก ณ ที่จ่าย ค่าเช่า ค่าแรงงานก็ต้องเสียภาษี           ภาษีอีกหนึ่งรายการที่ต้องเจอกันแน่ ๆ ก็คือ “ภาษีหัก ณที่จ่าย” ซึ่งอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายมีอยู่หลายอัตรา ดังนี้ 1% ค่าขนส่ง 2% ค่าโฆษณา 3% ค่าจ้าง, บริการ 5% ค่าเช่า 10% เงินปันผล 15% โอนเงินต่างประเทศ ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการหักจากยอดก่อน Vat. ส่วนใหญ่แล้วเราจะคุ้นเคยกันที่อัตรา 3% คือค่าจ้าง, บริการ กับ 5% คือค่าเช่า ถ้าไม่จ่ายต้องระวังโทษปรับต่อรายการสูงสุดถึง 2,000 บาท
และถ้าเรามีลูกจ้างอัตราเงินเดือนแต่ละเดือนเฉลี่ยจ่ายเกิน 26,000 บาท ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งสรรพากร แต่ถ้าเงินเดือนจ่ายรวมไม่เกิน 26,000 บาท ต่อเดือน ส่วนนี้ก็ได้รับการยกเว้น และอย่าลืมค่าเช่าร้านก็มีภาษีต้องจ่ายหัก ณ ที่จ่ายตามที่บอกในอัตรา 5% ภาษีป้าย           เป็นอีกหนึ่งเรื่องถ้าไม่รู้มีสิทธิ์โดนภาษีอ่วมแน่ ๆ สำหรับเรื่องของป้ายร้าน หลายคนอาจเจอกับตัวเองว่า ทำไมร้านเราโดนภาษีป้ายในอันตราที่แพงกว่าร้านข้าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ขนาดป้ายร้านข้าง ๆ ก็ใหญ่กว่าอลังกว่า ก็ให้กลับไปดูว่าป้ายร้านเราเป็นภาษาอะไร ถ้าเล่นเป็นภาษาต่างชาติล้วน ๆ รับรองว่าจ่ายภาษีอ่วมแน่นอน เพราะกฎหมายเขากำหนดไว้ว่า 
  • ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาทต่อ 500 ตารางเซ็นติเมตร
  • ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซ็นติเมตร
  • ป้ายที่ไม่มีอักษรภาษาไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่, ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้อักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ทั้งนี้ ป้ายที่เมื่อคำนวณพื้นที่แล้วมีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาทให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท โปรดทราบและกลับไปดูป้ายของร้านตัวเองในทันทีก็จะรู้คำตอบว่า จะต้องเสียภาษีป้ายที่เท่าไหร่ หรือจะต้องแก้ไขอย่างไรเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง ภาษีที่ดิน หรือภาษีโรงเรือนเดิม
เป็นภาษีตัวใหม่ที่เพิ่งประกาศใช้ในปีนี้เอง ภาษีตัวนี้เป็นในส่วนของที่ดินที่เราเช่าทำร้าน เจ้าของที่ดินมักต้องผลักภาระส่วนนี้มาให้ผู้เช่ารับผิดชอบ แต่ประเด็นคือภาษีตัวนี้ยังเป็นอะไรที่ซับซ้อนและยังมีความไม่แน่นอนของอัตราการเสียภาษี ดังนั้นข้อแนะนำสำหรับภาษีตัวนี้คือ ใจเย็น ๆ เดาแค่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ. 2563 ให้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภาษีตัวนี้อย่างใกล้ชิดว่า ในที่สุดเมื่อถึงเดือนสุดท้ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระภาษี ยังจะมีการเสียอยู่ หรือ เลื่อนออกไป หรือ มีการลดอัตราภาษีหรือไม่ นี่ยังไม่เริ่มเปิดขายมีรายได้เข้ามาเลยก็มีรายการภาษีหลายหลายการให้ต้องเสีย และเมื่อเราเริ่มเปิดทำการขายมีรายได้ก็จะมีรายการภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องอีก แบ่งเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับ ภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ ยื่นครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 ยื่นในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้เดือนมกราคม - มิถุนายน ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไป สำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่ายในครั้งที่ 1 มาหักออกจากภาษีที่คำนวณจ่ายครั้งที่ 2 สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้รายการนี้ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งเช่นกันคือ ครั้งแรก ภ.ง.ด.51 เรียกว่าภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นภายใน 2 เดือนเมื่อครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี ครั้งที่สอง ภ.ง.ด.50 เรียกว่าภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นภายใน 150 วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเมื่อไหร่จึงจะจด           ภาษีตัวนี้หลายคนถามอยู่บ่อย ๆ ว่าต้องจดหรือไม่ ส่วนนี้ต้องดูที่ยอดขายของร้านว่าในแต่ละปีมีรายได้หรือยอดขาย (ไม่เกี่ยวกับกำไร) เกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ ถ้ามั่นใจว่าไม่เกินแน่ ๆ ส่วนนี้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องจด แต่ถ้าเมื่อไหร่ยอดขายถึง 1.8 ล้านบาท ผู้ประกอบการมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ก็อย่าลืมคิดในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มใส่เข้าไปในการคำนวณราคาขายไว้ด้วย ซึ่งในเรื่องของภาษีแนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติมการยืนภาษีแต่ละแบบจากกรมสรรพากรโดยตรง และปัจจุบันทางกรรมสรรพากรเปิดให้เรายื่นเสียภาษีผ่านระบบออนไลน์ที่จ่ายสะดวกสบาย รายละเอียดต่าง ๆ ดูได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร คลิก
“ภาษี” เป็นเรื่องปลายทาง ต้นทางสำคัญคือ “บัญชี”          ภาษีเป็นเรื่องของหน้าที่ที่เราเลี่ยงไม่ได้ แต่ส่วนสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อการเสียภาษีจะเสียมาก เสียน้อย เสียผิด เสียถูก มาจากส่วนนี้นั่นคือ “การทำบัญชี” โดยเฉพาะการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายกรอกข้อมูลลงสมุดหรือตารางบัญชี เพื่อรู้ที่มาของรายรับ และที่ไปของรายจ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีแต่ละรายการ ซึ่งส่วนนี้สำคัญมาก ๆ และหลายคนมองว่าเป็นเรื่องยาก ทั้งที่จริงมันมีวิธีทำง่าย ๆ แต่ถ้าจะให้เขียนอธิบายก็จะยาวไปและอาจจะไม่เข้าใจเท่ากับให้ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีมาแนะนำโดยตรงดีกว่า จะบอกว่าถ้าใครกลัวเรื่องบัญชี โอกาสเจ็บตัวจากการทำธุรกิจมีสูงมาก คลิกอ่านบทความอื่นได้ที่นี่
คลิกอ่านบทความน่ารู้ จากแม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี 
Explore more topics
ยื่นภาษีร้านอาหารภาษีร้านอาหารการจัดการร้านอาหาร

Keep reading

Get inspired by content for restaurants.

View All Articles
What categories interest you?