สรุปมาตราการ "เปิดร้านอาหาร" ทั้งในห้าง และ Stand Alone

19 พ.ค. 2563
ถึงตอนนี้ร้านอาหารก็เปิดให้บริการได้เกือบครบทุกประเภทแล้ว จะยังเหลือก็แต่ร้านประเภทผับ บาร์ที่ยังต้องรอเวลาท้ายสุด แต่ทั้งหมดก็เป็นการเปิดแบบไม่ฟูลออฟชั่น เพราะยังต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศบค. และมาตรการต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งก็มีอยู่หลายข้อ และมีความต่างกันในรายละเอียดสำหรับร้านอาหารในห้างฯ  และร้านอาหารพื้นที่นอกห้างฯ ที่อาจยังมีผู้ประกอบการสับสนอยู่บ้าง จึงจะมาสรุปมาตรการและขอแนะนำต่าง ๆ สำหรับร้านอาหารในห้าง และ stand alone กันอีกครั้งว่ามีอะไรบ้าง
สรุปมาตราการ/ข้อแนะนำเปิดร้านอาหารทั้งในห้าง และ stand alone   ตามข้อกำหนดของ ศบค. ที่ประกาศลงเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 63 มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร ดังนี้ 
มาตรการควบคุมหลัก - ทำความสะอาดพื้น, พื้นผิวสัมผัสบ่อย ๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน - ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า - ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค - ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างการเดินอย่างน้อย 1 เมตร - ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ มิให้แออัด
มาตรการเสริม - มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ - ลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน - งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในสถานที่จำหน่ายอาหาร - จัดให้มีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืน ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร - อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสม หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ได้ โดยทั้งมาตรการหลัก และมาตรการเสริมของ ศบค. นี้ ใช้ปฏิบัติทั้งร้านอาหารในห้าง และ stand alone ซึ่งร้านที่ยังถูกล็อคดาวน์ต่อไปก็คือ ร้านกลุ่มผับ บาร์ ซึ่งทุกข้อนี้เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานที่ร้านอาหารทุกประเภทต้องดำเนินการ คราวนี้มาดูมาตรการข้อกำหนดของ กทม. บ้าง (ทั้งนี้ข้อกำหนดของแต่ละจังหวัดอาจแตกต่างกันแต่พื้นฐานจะต้องอยู่ภายใต้มาตรการหลัก และมาตรการของ ศบค และอาจมีมาตรการที่เข้มข้นกว่าได้) 
มาตรการของกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร - ร้านอาหาร จัดที่นั่งให้มีระยะห่างกัน 1.5 เมตร - ร้านต้องตรวจอุณหภูมิพนักงานและลูกค้าทุกคน - การเข้าแถวซื้ออาหารต้องเว้นระยะ 1.5 เมตร อย่างเคร่งครัด - ร้านชาบู สุกี้ ปิ้งย่าง ห้ามให้ลูกค้าปรุงอาหารเอง ให้สั่งอาหารและมีพนักงานมาเสิร์ฟ -  ร้านข้าวแกง จัดให้มีแผ่นใสกันระหว่างลูกค้ากับถาดอาหาร - ร้านบุฟเฟ่ต์ งดให้บริการในรูปแบบที่ให้ลูกค้าตักอาหารเอง ให้สั่งจากรายการอาหาร - ห้ามมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในร้าน และลูกค้าไม่สามารถพกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากินในร้านได้ - ร้านต้องจัดให้มีเจลล้างมือ ต้องทำความสะอาดสุขาทุก 1 ชั่วโมง ทำความสะอาดโต๊ะเก้าอี้ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังลูกค้าใช้ - ร้านที่มีแอร์ให้หยุดระบายอากาศทุก 2 ชั่วโมง เพื่อทำความสะอาด ให้ติดป้ายแสดงรอบทำความสะอาดที่หน้าร้าน - พนักงานต้องใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า Face Shield ใส่ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน ล้างมือทุกครั้งก่อนปรุงอาหารและให้บริการลูกค้า 
ข้อแนะนำจากกรมอนามัย
          กรมอนามัยเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ออกข้อแนะนำแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร ผู้สัมผัสอาหาร และผู้ซื้อ/ผู้บริโภคที่มาใช้บริการ มีรายละเอียดดังนี้
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบกิจการ - จัดให้มีการคัดกรองผู้ประกอบกิจการ ผู้สัมผัสอาหาร และผู้ซื้อ ด้วยวิธีการสังเกตหรือสอบถามอาการ หรือใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย หากพบว่ามีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ หรือมีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า หรือเท่ากับ 37.5 องศาเซลเซียส แนะนำให้ไปพบแพทย์ -  ทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ใช้บริการ - มีมาตรการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล แผงค้า โต๊ะและที่นั่งรับประทานอาหารการซื้อสินค้าและชำระเงิน อย่างน้อย 1-2 เมตร - จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างเพียงพอ -ทำความสะอาด บริเวณพื้นของสถานที่ปรุง-ประกอบ/จำหน่ายอาหาร โต๊ะและนั่งรับประทานอาหาร พื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรืออาจใช้น้ำยาฆ่าเชื้อก่อนและหลังการให้บริการทุกครั้ง หากจัดบริการห้องน้ำ ห้องส้วม ให้เน้นบริเวณจุดเสี่ยง เช่น ที่จับสายฉีดชำระ ที่รองนั่งโถส้วม ที่กดโถส้วม โถปัสสาวะ ก๊อกน้ำ ที่เปิดก๊อกอ่างล้างมือ กลอนหรือลูกบิดประตูเป็นต้น - มาตรการป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหาร เช่น อาหารปรุงสำเร็จมีการปกปิดอาหารมิดชิด จัดเก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร และต้องอุ่นอาหารให้ร้อนทุก 2 ชั่วโมง ใช้อุปกรณ์สำหรับการหยิบจับหรือตักอาหาร โดยแยกระหว่างอาหารสุก อาหารดิบ ผัก และผลไม้ ไม่วางอาหารทุกประเภทบนพื้นโดยตรง ไม่ให้ผู้ซื้อใช้มือเปล่า หยิบจับอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค ใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่เหมาะสมตามประเภทอาหาร เป็นต้น - จัดสภาพแวดล้อมในสถานที่จำหน่ายอาหาร เช่น จัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม จัดให้มีภาชนะ/อุปกรณ์สำหรับการรับประทานอาหารให้เพียงพอเป็นรายบุคคล เช่น จานอาหาร ช้อน-ส้อม แก้วน้ำ และช้อนกลาง (ประจำตัวบุคคล) จัดบริการกระดาษสำหรับเช็ดปากแบบใช้แล้วทิ้ง จัดทำระบบการสั่งซื้ออาหารหรือจองโต๊ะนั่งรับประทานอาหารล่วงหน้า ระบบชำระเงินออนไลน์ เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกและลดการสัมผัสของผู้ใช้บริการ - กำหนดมาตรการเพื่อลดความแออัด เช่น กำหนดจำนวนคนต่อพื้นที่ กำหนดระยะเวลาที่ใช้บริการนั่งรับประทานอาหาร ไม่จัดกิจกรรมหรือให้บริการที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้ใช้บริการ เช่น การแสดงที่มีผู้คน/การแสดงดนตรีสด และงดจำหน่ายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น - จัดให้มีภาชนะรองรับขยะที่มีฝาปิดไว้ภายในบริเวณสถานที่จำหน่ายอาหาร เก็บรวบรวมขยะ และใส่ถุงขยะปิดปากถุงให้มิดชิดก่อนส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง - สื่อสารและประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 เช่น การสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง ขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้อง เป็นต้น ผ่านช่องทางต่าง ๆ
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้สัมผัสอาหาร และผู้ปฏิบัติงาน -หากมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงาน และไปพบแพทย์ทันที - สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ก่อนปฏิบัติงาน ที่ต้องสัมผัสอาหารทุกครั้ง หลังออกจากห้องส้วม หลังสัมผัสสิ่งสกปรก - มีการป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหาร เช่น ผู้สัมผัสอาหารต้องสวมใส่ผ้ากันเปื้อน สวมหมวกหรืออุปกรณ์ ปกปิดเส้นผมในขณะปฏิบัติงาน ปรุง-ประกอบและจำหน่ายอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่เหมาะสมตามประเภทอาหาร อาหารปรุงสำเร็จมีการปกปิดอาหารมิดชิดจัดเก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร และต้องอุ่นอาหารให้ร้อนทุก 2 ชั่วโมง ใช้อุปกรณ์สำหรับการหยิบจับหรือตักอาหารโดยแยกระหว่างอาหารสุก อาหารดิบ ผักและผลไม้ ไม่วางอาหารทุกประเภทบนพื้นโดยตรง ป้องกันไม่ให้ผู้ซื้อใช้มือเลือกหรือสัมผัสอาหารประเภทเนื้อสัตว์สด/อาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภคโดยตรง เป็นต้น - ลดการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ใช้บริการ เช่น การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล 1 - 2 เมตร มีระบบการสั่งซื้ออาหาร/จองโต๊ะนั่งรับประทานอาหารล่วงหน้า/การชำระเงินแบบออนไลน์มีอุปกรณ์สำหรับรับเงิน เป็นต้น - ผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาดและล้างภาชนะอุปกรณ์ ต้องสวมถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และใช้ปากคีบด้ามยาวเก็บขยะ และใส่ถุงขยะปิดปากถุงให้มิดชิด และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังปฏิบัติงาน เมื่อปฏิบัติงานเสร็จในแต่ละวันให้อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ซื้อ/ผู้บริโภค - สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย หากมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือ เหนื่อยหอบ งดไปใช้บริการในสถานที่จำหน่ายอาหาร และไปพบแพทย์ทันที - ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนและหลังการใช้บริการ - เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร - วางแผนหรือเลือกรูปแบบการซื้ออาหาร เช่น จัดเตรียมเมนูอาหาร การสั่งจองอาหารล่วงหน้าการเลือกซื้ออาหารและใช้บริการจัดส่งอาหารผ่านระบบออนไลน์ เพื่อความรวดเร็วและลดการสัมผัสกับสถานที่จำหน่ายอาหาร/ผู้สัมผัสอาหาร/ผู้ใช้บริการ
www.ไทยชนะ.com แพลตฟอร์มสำหรับห้าง ร้าน ลูกค้า เก็บข้อมูลป้องกันโควิดถึงวันนี้หลายคนคงเริ่มคุ้นเคยกับการลงทะเบียนเข้าห้างฯ ออกห้างฯ เข้าร้าน ออกร้าน เข้าแบงค์ ออกแบงค์ ฯลฯ ผ่านแพลตฟอร์ม “
ไทยชนะ” ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มของรัฐสำหรับใช้เก็บข้อมูลห้าง ร้าน และลูกค้าที่มาใช้บริการป้องกันโควิด กรณีหากพบผู้ติดเชื้อในบริเวณใด ก็จะสามารถรู้ได้ว่า มีใครเข้าใช้บริการในจุดที่ติดเชื้อบ้าง เพื่อนำไปสู่การติดตามตัวมารักษาหรือกักตัวเฝ้าระวังต่อไป รวมถึงระบบจะทำหน้าที่คัดกรองจำนวนคนเข้าร้านและแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้งาน บอกให้ทราบถึงจำนวนผู้มาใช้บริการในแต่ละรอบว่าเต็มหรือยัง หรือรับได้อีกกี่คนตามมาตรการลดการแออัด
โดยร้านค้าสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ไทยชนะ.com จะมีขั้นตอนให้ดำเนินการต่าง ๆ ทำตามขั้นตอนจนครบก็จะได้รับคิวอาร์โค้ด จากนั้นนำคิวอาร์โค้ดแปะไว้ที่ร้าน หรือโพสต์ตามช่องท่างสื่อสารของร้านให้ลูกค้าทราบ เพื่อให้ลูกค้าสแกนเช็กอิน และเช็กเอาต์ เก็บข้อมูล ทั้งนี้แพลตฟอร์มไทยชนะไม่ได้เป็นข้อบังคับให้ร้านค้าต้องใช้ เป็นเพียงการขอความร่วมมือให้ใช้ เพื่อเป็นส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งกรณีร้านค้าในห้างฯ ก็อาจจำเป็นต้องใช้ตามข้อกำหนดของห้างฯ และทั้งหมดนี้เป็นการสรุปรวบรวมมาตราการ/ข้อแนะนำเปิดร้านอาหาร ทั้งในห้าง และ stand alone โดยลัก ๆ ที่ต้องปฏิบัติก็จะเป็นในส่วนมาตรการควบคุมหลัก และมาตรการเสริมของ ศบค. รวมไปถึงมาตรการข้อห้ามของหน่วยงานท้องถิ่น เช่น กรุงเทพมหานคร ส่วนมาตรการนอกเหนือจากนี้ ก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้ประกอบการในการจัดทำ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ามาใช้บริการ ยิ่งลูกค้ามั่นใจก็ยิ่งเป็นเรื่องดี เพิ่มโอกาสการขายตามมานั่นเอง คลิกอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่นี่
สำรวจหัวข้อเพิ่มเติม
มาตรการผ่อนปรน ศบค.คู่มือเปิดร้านอาหารการจัดการร้านอาหาร

Keep reading

รับแรงบันดาลใจจากเนื้อหาสำหรับร้านอาหาร

ดูบทความทั้งหมด
คุณสนใจหมวดหมู่ใด