ทำเลดี แต่ค่าเช่าแพง ! บริหารความเสี่ยงอย่างไร ให้เหมาะกับร้านอาหารคุณ

22 ส.ค. 2564
ในการเลือกทำเลสำหรับเปิดร้านอาหารนั้น เชื่อว่าผู้ประกอบการ หรือว่าที่ผู้ประกอบการไม่น้อย จะต้องมีโอกาสต้องตัดสินใจเลือก
ระหว่าง พื้นที่ราคาค่าเช่าประหยัดหน่อยแต่ Traffic การมองเห็นหรือการเดินทางมายังร้านไม่สะดวก กับพื้นที่มี Traffic ดีเยี่ยม
มีความสะดวกสบายในเรื่องการเดินทาง มีที่จอดรถ แต่ก็มีค่าเช่าค่อนข้างสูง ควรตัดสินใจเลือกทำเลไหนดี…..?

“ทำเล” นับว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของความสำเร็จหรือล้มเหลวในการทำธุรกิจร้านอาหารอย่างมาก และการเลือกทำเล ปัจจัยราคาค่าเช่าที่ถูก
และ แพงย่อมมีผลต่อการตัดสินใจอย่างแน่นอน เพราะมันจะเป็น Fixed Cost (ค่าใช้จ่ายคงที่) ที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายในทุก ๆ เดือน จนกว่าจะเลิกกิจการไป
ซึ่งสิ่งสำคัญอันดับแรกเลยในการเลือกทำเลคือ ต้องตอบให้ได้ว่าร้านที่จะเปิดนั้นมันเหมาะกับกลุ่มลูกค้าแบบไหน ถ้าเราไม่เข้าใจว่าคอนเซปต์ของร้านเรา
สินค้าที่เราจะขายนั้นเหมาะกับคนกลุ่มไหน อายุเท่าไร กำลังจับจ่ายอาหารต่อมื้อเท่าใด มีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอย่างไร ก็เป็นเรื่องยากมากที่จะเปิดร้านให้อยู่รอดต่อไปได้

ซึ่งต่อให้เราจะไปเปิดในพื้นที่ที่มีทราฟฟิกคนหนาแน่นแค่ไหน เช่น ตามห้างสรรพสินค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ต่าง ๆ หาก Product ที่เราจะนำไปขาย
มันไม่ได้ Match กับกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ก็ยากจะขายได้ และในที่สุดก็ต้องปิดตัวลงไป แต่หากคุณวิเคราะห์ได้แล้วว่า กลุ่มลูกค้าที่เหมาะกับร้านของคุณ
เป็นแบบไหน ต่อให้เป็นพื้นที่ Traffic ไม่ค่อยแน่น หรือเดินทางมาไม่สะดวกสบายมากนักเท่าไร แต่มันตอบโจทย์ได้ว่าพื้นที่นี้มีกลุ่มเป้าหมายของคุณอยู่ เ
พียงแค่ใช้เครื่องมือทาง Social Media ที่มีมากมายในยุคปัจจุบันช่วยประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ารู้จักร้านคุณ แค่นี้การทำธุรกิจก็สามารถดำเนินต่อไปได้แล้ว
ขอเพียงแค่เข้าใจก่อนว่าสิ่งที่คุณจะขายนั้น มันเหมาะกับลูกค้ากลุ่มไหน และเขาอยู่ที่ใด


สำหรับใครที่วิเคราะห์แล้วพบว่า กลุ่มลูกค้าของคุณนั้นอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าเช่าสูงมาก สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือ
วิเคราะห์ feasibility หรือการประเมินความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจ
โดยการประมาณการณ์ยอดขายที่คาดว่าจะทำได้ในพื้นที่นี้ภายในระยะสัญญาที่เช่า
และหักลบกับ (1) ค่าลงทุนในการเริ่มต้นทำธุรกิจ

เช่น

ค่าประกันการเช่าพื้นที่
ค่าเขียนแบบ

ค่าก่อสร้าง

ค่าอุปกรณ์เครื่องครัวต่าง ๆ

ค่าภาชนะ

ค่าวัตถุดิบสำหรับเริ่มต้นกิจการ

ค่ายูนิฟอร์มพนักงาน

ค่าระบบ POS และ อื่น ๆ

จากนั้นนำมาหักลบกับ (2) ค่าใช้จ่ายรายเดือนในแต่ละเดือนโดยประมาณการจนครบสัญญา เช่น

ต้นทุนอาหาร

ต้นทุนเครื่องดื่ม

ค่าแรงพนักงาน

ค่าแรงเจ้าของกิจการ

ค่าน้ำ

ค่าไฟฟ้า

ค่าแก๊ส

ค่าอินเตอร์เน็ต

ค่าเช่าพื้นที่

ค่าการตลาด

ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ 

ค่าภาษี

เป็นต้น

ซึ่งหากวิเคราะห์แล้ว (โดยไม่เข้าข้างตัวเอง) พบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายทั้ง 2 หมวดนี้แล้วละก็ ข้อมูลนี้จะเป็นตัวช่วยให้กับเรา
ในการตัดสินใจเปิดร้านได้อย่างหมดกังวลเรื่องทำเล หลาย ๆ ต้องเจ็บตัวมาแล้วกับทำเลทั้ง 2 แบบ ไม่ว่าจะทำเลค่าเช่าถูก หรือ ทำเลค่าเช่าแพง
ก็เพราะขาดการวิเคราะห์ feasibility และขาดการศึกษาพฤติกรรมของผู้คนในทำเลนั้น ๆ

สำรวจหัวข้อเพิ่มเติม

Keep reading

รับแรงบันดาลใจจากเนื้อหาสำหรับร้านอาหาร

ดูบทความทั้งหมด
คุณสนใจหมวดหมู่ใด