อยาก Up ยอดขายร้านอาหารด้วยการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ต้องขอใบอนุญาตอย่างไร?

01 มี.ค. 2563
สำหรับร้านอาหารร้านใดที่ต้องการจะให้บริการจำหน่าย เครื่องดื่มแอกอฮอลล์ภายในร้าน สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจ หรือเรียนรู้กันก่อนเลยคือ เรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพราะไม่ใช่ว่าทุกร้านจะสามารถขายเครื่องดื่มแอลกฮอลล์ได้ พลาดไปอาจโดนถึงขั้นปิดกิจการไม่พอ ยังต้องโดนปรับ โดนดำเนินคดีวุ่นวายเสียเวลา เสียเงินลงทุน เพราะขึ้นชื่อว่ากฎหมายจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ มาติดตามกันว่า ถ้าร้านเราต้องการจะขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้ต้องทำอย่างไรให้ถูกต้อง 
เลือกอ่านหัวข้อได้ตามนี้
กฎหมายที่ต้องศึกษาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กฎหมายที่ต้องศึกษาก็คือ 
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งถือเป็นกฎหมายหลักที่กำหนดข้อห้าม กำหนดโทษ และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องตามมา ซึ่งหน่วยงานหนึ่งที่เกิดขึ้นมาจากพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ. ๒๕๕๑ และมีบทบาทในการออกกฎข้อห้าม หรือข้ออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ก็คือ “คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ” และยังมีอีกหนึ่งหน่วยงานย่อยที่มีบทบาทสำคัญต่อนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั่นก็คือ “คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์” เป็น 2 หน่วยงานหลักที่เกิดจากพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้รู้จักชื่อ 2 หน่วยงานนี้เอาไว้ เพื่อที่ต่อไปเวลาได้ยิน หรือ ได้รับข่าวสารจากสื่อมีพูดถึงการประชุมของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังกล่าว ให้ตั้งใจอ่านหรือตั้งใจฟังดี ๆ เพราะจะมีผลโดยตรงต่อการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในร้านเรา 
สิ่งแรกที่ควรรู้ ร้านเราตั้งอยู่ในพื้นที่ต้องห้ามหรือไม่ คราวนี้ถ้าเราต้องการจะขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในร้านสิ่งแรกที่ต้องทราบก่อนเลยคือ ร้านเราตั้งอยู่ในพื้นที่ต้องห้ามหรือไม่! 
มาตรา ๒๗ และ ๓๑ แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้ห้ามขายหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้ (๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เว้นแต่การดื่มนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา (๒) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นกรณีการดื่มสามารถดื่มได้ในบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล (๓) สถานที่ราชการ ยกเว้น กรณีการขายสามารถขายได้ในบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร ส่วนกรณีการดื่มสามารถดื่มได้ในบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
(๔) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ เว้นแต่กรณีการดื่มสามารถดื่มในบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (๕) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (๖) สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป (๗) ห้ามมิให้ขายในสถานที่หรือบริเวณของหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก (๘) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ประเด็นคงไม่ได้อยู่ที่เรื่องของตัวสถานที่ห้าม เพราะคงไม่มีใครไปเปิดร้านอยู่ในสถานที่กฎหมายห้ามขายอยู่แล้ว แต่ที่หลายคนไม่แน่ใจคือ แล้วถ้าร้านตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงสถานที่ห้ามรัศมีพื้นที่เท่าไหร่จึงจะสามารถจำหน่ายได้ โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้สถานศึกษา ระยะปลอดภัยคือห่าง 300 เมตรโดยรอบสถานที่ประกฎหมายประกาศห้าม
กรณีที่ร้านยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ และหากตรวจสอบแล้วว่าร้านอยู่ในระยะปลอดภัย ลำดับต่อมาที่ต้องทำคือ กรณีที่ร้านยัง
ไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ต้องไปดำเนินการขอยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ประเภทร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอที่ร้านตั้งอยู่ แต่ถ้าร้านจัดตั้งเป็นรูปแบบนิติบุคคลอยู่แล้วก็ข้ามข้อนี้ไปได้ ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์เนื่องจากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮออล์ถือเป็นการประกอบกิจการพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่ร้านบุคคลธรรมดาไม่สามารถประกอบกิจการประเภทนี้ได้ เมื่อผ่านขั้นตอนจดทะเบียนพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อมาต้องขออนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุราให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและออกใบอนุญาตได้แก่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครขออนุญาตที่กรมสรรพสามิต ส่วนในต่างจังหวัดขออนุญาตได้ที่สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด หรือ ยื่นขออนุญาตผ่านระบบออนไลน์ของเว็บไซต์กรมสรรพสามิต 
เอกสารที่ต้องใช้ยื่นขออนุญาตจำหน่ายสุรา ✔️แบบฟอร์มคำขออนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา แบบ สยพ.1 
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม http://bit.ly/2VupV7p ✔️สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นขออนุญาต ✔️หนังสือยินยอมของเจ้าของสถานที่ ยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่จำหน่ายเครื่องดื่มสุราพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสถานที่ ✔️กรณีเป็นสถานที่เช่า ให้แนบหนังสือสัญญาเช่าสถานที่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านสถานที่เช่า ✔️แผนที่ตั้งร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มสุรา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบโซนนิ่ง ✔️หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ เมื่อยื่นคำขออนุญาตแล้ว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการพิจารณาเอกสารและตรวจสอบโซนนิ่งหากทุกอย่างถูกต้องตามระเบียบ ก็จะออกใบอนุญาตเป็นเวลา 1 ปี โดยผู้ประกอบการจะต้องขอต่อใบอนุญาตปีต่อปี
มาดูบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 กันบ้างว่า ถ้าเปิดขายโดยไม่ข้ออนุญาต หรือเปิดขายโดยผิดไปจากที่กฎหมายอนุญาตไว้จะโดนอะไรตามมาบ้าง เอาเฉพาะที่สำคัญ ๆ 1.ขาย แลกเปลี่ยนหรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์ -จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 30,000 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา26(10) กท.พัฒนาสังคมฯ -เพิกถอนใบอนุญาต กฎกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2548 กรมสรรพสามิต 2.ขายสุรานอกเวลาที่กำหนด (ให้ขาย 11.00-14.00 และ 17.00-24.00) -ปรับ 50 บาท -พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขายสุราเป็นเวลา 5 ปี พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 20, 46 กรมสรรพสามิต -จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 253 พ.ศ. 2515 สนง.ตำรวจแห่งชาติ 3.ขายสุราในสถานที่ต่อเนื่องหรือติดกับสถานที่ ดังนี้ - ในสถานศึกษา -ศาสนาสถาน(วัดต่าง ๆ) - สถานีบริการนำมัน -เพิกถอนใบอนุญาต -ไม่มีใบอนุญาต ปรับตามประเภทสุราที่ขายกฎกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2548 กรมสรรพสามิต 4.ไม่แสดงใบอนุญาตขายสุราไว้ในสถานที่ขายอย่างเปิดเผย -ปรับ 2,000 บาทกฎกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2548 กรมสรรพสามิต 5.ทำการเปลี่ยนแปลงสุรา (เช่น ผสมยาดองเหล้าหรือวัตถุอื่น ๆ) -ผู้ขายส่ง ปรับ 2,000 บาท -ผู้ขายปลีก ปรับ 500 บาท พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 22,23,36,38 กรมสรรพสามิต 6.เก็บสุราไว้ที่อื่นซึ่งมิใช่สถานที่ขออนุญาตไว้ -ปรับ 500 บาท(เฉพาะผู้ขายส่ง) พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 21, 38 กรมสรรพสามิต 7.ขายสุราไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาตที่เจ้าพนักงานออกให้ -ปรับ 200 บาท พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 40 ทวิ กรมสรรพสามิต
8.ขายหรือนำสุราออกแสดงเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตขายสุรา -สุราไทยทุกชนิด ปรับ 500 บาท -สุราต่างประเทศ ปรับ 2,000 บาท พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 17, 40 กรมสรรพสามิต 9.ลักลอบผลิตสุราทุกชนิด(สุรากลั่น, สุราแช่, กระแช่ ฯลฯ) -จำคุกไม่เกิน 6 เดือน -ปรับไม่เกิน 5,000 บาท พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5, 30 กรมสรรพสามิต 10.ขายสุราที่ลักลอบผลิตขึ้นตามข้อ 9 -ปรับไม่เกิน 5,000 บาท พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31 กรมสรรพสามิต 11.ขนหรือเคลื่อนย้ายสุราแช่ และสุรากลั่นหนีภาษี -จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 34 กรมสรรพสามิต 12.ขนหรือเคลื่อนย้ายสุราทุกชนิดตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป โดยไม่มีใบอนุญาตให้ขนสุรากำกับไปด้วย -ปรับลิตรละ 10 บาท ตามจำนวนสุราที่ขนหรือเคลื่อนย้ายพ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 14, 38 ทวิ กรมสรรพสามิต 13.ขายหรือมีไว้เพื่อขาย สุราชุมชนหนีภาษี -จำคุกไม่เกิน 6 เดือน -ปรับ 4 เท่าของภาษีสุรา(ตามจำนวนสุราของกลาง) พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 33 กรมสรรพสามิต 14.ขายหรือมีไว้เพื่อขาย สุราต่างประเทศหนีภาษี -จำคุกไม่เกิน 6 เดือน -ปรับ 4 เท่าของภาษีสุรา(ตามจำนวน ประเภท/ชนิดสุราของกลาง)พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 33 กรมสรรพสามิต
15.ขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดงานเลียงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้งในระหว่างเวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง -จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา 130 16.ขายสุรา หรือยินยอมปล่อยปละละเลยให้ผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ เข้าไปหรืออยู่ในสถานบริการระหว่างเวลาทำการ -ปรับไม่เกิน 50,000 บาท พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 16(2) (3) มาตรา 27 -กระทรวงมหาดไทยพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่บังคับใช้ยังกำหนดควบคุมสถานที่จำหน่ายเพิ่มขึ้นด้วย ก็เป็นภาษาทางกฎหมายที่อ่านแล้วอาจไม่ค่อยเข้าใจ แต่ให้ดูที่บทลงโทษเป็นสำคัญ ฉะนั้นถ้าต้องการจะขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดทุกประการ นอกจากการขอใบอนุญาตการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในร้านอาหารแล้ว สามารถอ่าน รู้ก่อนพลาด! เตรียมให้พร้อม ก่อนเปิดขายแฮลกอฮอล์ในร้านอาหารได้ที่นี่
สำรวจหัวข้อเพิ่มเติม
บริหารร้านอาหารใบอนุญาตขายสุราร้านอาหารเปิดร้านขายเครื่องดื่มการจัดการร้านอาหาร

Keep reading

รับแรงบันดาลใจจากเนื้อหาสำหรับร้านอาหาร

ดูบทความทั้งหมด
คุณสนใจหมวดหมู่ใด