ออกเก่ง! 8 วิธีตัดปัญหา พนักงานลาออกบ่อย

15 ก.ย. 2565
ออกเก่ง! 8 วิธีตัดปัญหา #พนักงานลาออกบ่อย ไม่ต้องเทรนใหม่ให้เหนื่อยใจ

1. #ปฏิบัติให้ถูกหลัก "กฎหมายแรงงาน" ต้องเข้าใจก่อนว่ากฎหมายมีเจตนาในการคุ้มครองแรงงาน ไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายจะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าได้รับความยุติธรรมในการทำงาน���� และช่วยให้ร้านปลอดภัยจากความผิดทั้งหลายในอนาคตด้วย กฎหมายแรงงานจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง ค่าตอบแทน ค่าล่วงเวลา วันหยุด วันลา การจ่ายเงินชดเชย เป็นต้น

2. #มีสวัสดิการ สร้างความมั่นคงให้กับลูกน้องได้ อาจไม่ต้องมีมากจนร้านต้องแบกรับภาระเยอะ แต่การมีสวัสดิการเพิ่มขึ้นจะเป็นอีกข้อจูงใจที่สำคัญให้ลูกน้องรักองค์กรได้ สวัสดิการควรเป็นอะไรที่ช่วยให้ความเป็นอยู่ของพนักงานดีขึ้น หรือมากกว่ามาตรฐานที่ควรจะได้รับตามกฎหมาย
• เช่น อาหารกลางวัน เงินช่วยค่ารักษาพยาบาล โบนัสประจำปี งานเลี้ยง หรือท่องเที่ยวประจำปีในกรณีมีกำไรถึงยอดที่ตั้งเป้าไว้

3.เช็คผลตอบแทน สู้ร้านในละแวกเดียวกันได้หรือไม่ เพราะพนักงานย่อมต้องหาทางเจริญเติบโตและทางเลือกที่ดีสำหรับตัวเองเสมอ จึงไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นพนักงานย้ายร้านด้วยสาเหตุที่อีกร้านหนึ่งให้เงินเดือนดีกว่า มีสวัสดิการดีกว่า #แต่ไม่จำเป็นต้องขึ้นเงินเดือนแข่งกับร้านอื่น ถ้าร้านเรายังไม่มีกำไรมากพอจะทำได้ ให้ลองหาผลตอบแทนแบบอื่นหรือเพิ่มสวัสดิการ โดยต้องสำรวจก่อนว่าพนักงานต้องการอะไรมากที่สุด ก็จะช่วงเรื่องนี้ได้มาก

4. สร้างบทลงโทษที่ชัดเจนและลูกน้องรับทราบ ปกติเราจะมีข้อตกลงในการจ้างงานให้พนักงานรับทราบก่อนรับเข้ามาเริ่มงาน ถือเป็นการตกลงเบื้องต้นซึ่งกันและกันว่า ถ้าหลังจากนี้พนักงานทำผิดจะมีบทลงโทษอย่างไร และถ้าไม่ได้ทำผิดตามข้อตกลง นายจ้างก็จะไปลงโทษไม่ได้เช่นกัน โดยที่ทุกคนรับรู้ทั่วกันทุกฝ่ายอย่างยุติธรรม และยังถือเป็นการคัดคนในเบื้องต้นให้เข้ากับกฎและวัฒนธรรมองค์กรของร้านเรา 

5.ไม่กระตุ้นพนักงานด้วยคำด่าทอ การกระตุ้นด้วยคำด่าทอหรือหยาบคาย จะยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกเครียดและกดดันมากกว่าเดิม จนรู้สึกไม่อยากทำงานกับหัวหน้างานคนเดิมอีกต่อไป การเป็นผู้นำในยุคใหม่ควรมอบพลังบวกให้กับลูกน้อง ไม่กดดันหรือทำให้อับอาย กระตุ้นเตือนด้วยคำพูดที่ให้กำลังใจ และสร้างพลังในการทำงานให้สำเร็จไปพร้อมกันทั้งองค์กร 
ดังนั้นการชมและการตำหนิพนักงานถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องศึกษาให้ดี เพราะมีผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน

6. ปฏิบัติกับพนักงานทุกคนเหมือนคนในครอบครัวอย่างเท่าเทียม ลองนึกถึงเวลาที่มีปัญหาอะไรก็สามารถปรึกษาหรือช่วยเหลือกัน เมื่อมีความขัดแย้งก็ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน พนักงานและผู้บริหารทุกระดับชั้นมีความเข้าใจและรักใคร่กลมเกลียวกัน  ทั้งหมดนี้จะช่วยลดภาวะความกดดันในการทำงาน ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานกับบริษัทได้อย่างราบรื่น ดังนั้นการปฏิบัติกับพนักงานอย่างเท่าเทียมเหมือนครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถลดอัตราการลาออกของพนักงานได้

7. เช็คตัวเองหรือผู้จัดการร้าน ใช่ส่วนหนึ่งของปัญหานี้หรือไม่ ถ้าเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านไม่มีความสามารถในการจัดการและควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงไม่พยายามเข้าถึงจิตใจของพนักงาน ก็มีส่วนทำให้พนักงานลาออกได้เช่นกัน 
เพราะการบริหารคนจะไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการควบคุมให้งานเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่สามารถทำให้พนักงานรู้สึกผูกพันธ์กับองค์กรได้ ในกรณีนี้ต้องลองปรับพฤติกรรมของฝ่ายบริหารดูก่อน หรือต้องลองเปิดใจรับฟังพนักงานให้มากขึ้น

8. ถามไถ่ปัญหาทุกข์ใจเผื่อมีทางออก แต่ถ้าการลาออกเกิดจากปัญหาส่วนตัวของพนักงาน ให้ลองไถ่ถามถึงปัญหาเหล่านั้นดูก่อน เจ้าของร้านต้องหมั่นสังเกตพนักงานแต่ละคนว่ามีลักษณะผิดแปลก ทำงานแย่ลงหรือไม่ แล้วลองเปิดใจคุยกับพนักงานโดยตรงถึงปัญหาส่วนตัวที่เกิดขึ้น 
บางครั้งในฐานะคนที่มีประสบการณ์มากกว่า หรือคนวงนอกอาจจะสามารถมองเห็นทางออกของปัญหาได้ดีกว่าก็ได้ และถ้าเราสามารถช่วยแก้ปัญหาของพนักงานได้โดยที่ไม่เหลือบ่ากว่าแรง ก็ควรลงมือให้ความช่วยเหลือตามเห็นสมควร จะช่วยให้พนักงานคลายทุกข์ใจลงได้

การบริหารคนเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ร้านอาหารมักจะมองข้ามไป เพราะมัวโฟกัสที่การทำกำไรจากการขายอาหารอย่างเดียว โดยลืมไปว่าถ้าขาดพนักงานไปจะทำให้งานในร้านไม่ราบรื่นและต้องเสียเวลาในการเทรนพนักงานใหม่อีกบ่อยครั้ง มาเรียนรู้เรื่องการบริหารพนักงานได้ที่คอร์ส “การบริหารจัดการคนในธุรกิจร้านอาหาร” โดย อ.พีรพัฒน์ กองทอง ผู้จัดการและกูรูด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบการณ์มากกว่า 30 ปี เรียนรู้ฟรี! ได้ที่ => https://bit.ly/3NdDHDO 
สำรวจหัวข้อเพิ่มเติม

Keep reading

รับแรงบันดาลใจจากเนื้อหาสำหรับร้านอาหาร

ดูบทความทั้งหมด
คุณสนใจหมวดหมู่ใด